ประวัติ
ประมาณปี พ.ศ. 2415 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัย และพระราชทานนามว่า เมืองกระบี่ เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่ (บ้านตลาดเก่า) ในท้องที่อำเภอเมืองกระบี่ปัจจุบัน มีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองกระบี่คนแรก จนในปี พ.ศ. 2418 เมืองกระบี่ได้แยกออกจากการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพ และ ในปี พ.ศ. 2443 สมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้ย้ายที่ตั้งเมืองไปอยู่ตำบลปากน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้ปากอ่าวเป็นร่องน้ำลึก ให้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้
ข้อมูลทั่วไป
ตราประจำจังหวัดกระบี่ :
รูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังมีภูเขาและทะเล กระบี่ไขว้ หมายถึง อาวุธโบราณซึ่งมีผู้ค้นพบในท้องที่จังหวัด จำนวน 2 เล่ม ภูเขา หมายถึง เขาพนมเบญจาซึ่งเป็นภูเขาสูงสุดของกระบี่ ซับซ้อนกันถึง 5 ยอด จึงเรียกว่า พนมเบญจา
ธงประจำจังหวัดกระบี่
อักษรย่อ : กบ (กอ บอ)
คำขวัญประจำจังหวัด :
กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก แหล่งถ่านหิน ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน สวรรค์เกาะพีพี
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla)
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกทุ้งฟ้า
สัตว์น้ำประจำจังหวัด : หอยชักตีนหรือหอยสังข์ตีนเดียว
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
กระบี่ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 814 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มีเนื้อที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่ กว่า 154 เกาะ อุดมไปด้วยป่าชายเลน
ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามัน ที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เขาพนมเบญจา
สภาพภูมิประเทศ
ทางตอนเหนือประกอบด้วยเทือกเขายาวทอดตัวไปในแนวเหนือใต้ สลับกับสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด มีที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก
ทางใต้ มีสภาพภูมิอากาศเป็นภูเขากระจัดกระจาย สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น
ตะวันตกเฉียงใต้ มีสภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงค่อนข้างเรียบ และมีภูเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป บริเวณด้านตะวันตกมีลักษณะ เป็นชายฝั่งติดกับทะเลอันดามันยาวประมาณ 160 กิโลเมตร
สภาพภูมิอากาศ
กระบี่ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน มี 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน มี 8 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ไปจนถึงเดือนตุลาคม
อาณาเขต และเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จดจังหวัดพังงาและจังหวัดสุราษฎร์ธานีทางด้าน อำเภอทับปุด อำเภอพนม อำเภอพระแสง และอำเภอชัยบุรี
ทิศใต้ จดจังหวัดตรังและทะเลอันดามันทางด้านอำเภอสิเกา
ทิศตะวันออก จดจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรังทางด้านอำเภอบางขัน อำเภอทุ่งใหญ่ และอำเภอวังวิเศษ
ทิศตะวันตก จดจังหวัดพังงาและทะเลอันดามันทางด้านอำเภอทับปุด
การปกครอง
ส่วนภูมิภาค
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 389 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองกระบี่
- อำเภอเขาพนม
- อำเภอเกาะลันตา
- อำเภอคลองท่อม
- อำเภออ่าวลึก
- อำเภอปลายพระยา
- อำเภอลำทับ
- อำเภอเหนือคลอง
ส่วนท้องถิ่น
มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
- เทศบาลเมืองกระบี่
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
นายออม ธีญะระ
1 มิ.ย. 2484 - 11 ก.ค. 2485
นายวิจารณ์ วิจารณ์นิกรกิจ
9 ก.ย. 2485 - 24 ก.ค. 2487
นายสมบูรณ์ จันทร์ประทับ
2 มี.ค. 2487 - 1 ก.ค. 2489
นายจันทร์ สมบูรณ์กุล
7 ต.ค. 2489 - 6 ธ.ค. 2490
นายวิเวก จันทโรจวงศ์
6 ธ.ค. 2490 - 10 มิ.ย. 2497
นายเฉลิม ยูปานนท์
15 มิ.ย. 2497 - 18 พค. 2498
นายอ้วน สุรกุล
2 ก.ย. 2498 - 20 พ.ค. 2501
นายประจักษ์ วัชรปาณ
20 พ.ค. 2501 - 1 ก.ค. 2503
นายเคลื่อน จิตรสำเริง
2 ก.ค. 2503 - 27 ต.ค. 2506
นายพุก ฤกษ์เกษม 28 ต.ค.
2506 - 30 ก.ย. 2511
นายเหรียญ สร้อยสนธิ์
2 ต.ค. 2511 - 30 ก.ย. 2513
นายเฉลิม สุวรรณเนตร
1 ต.ค. 2513 - 30 ก.ย. 2515
นายวัชระ สิงคิวิบูลย์
2 ต.ค. 2515 - 5 ต.ค. 2516
นายฉลอง กัลยาณมิตร
8 ต.ค. 2516 - 3 ต.ค. 2518
นายกระจ่าง คีรินทรนนท์
9 ต.ค. 2518 - 30 ก.ย. 2520
นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา
1 ต.ค. 2520 - 30 ก.ย. 2521
นายดิเรก ดิเรกวัฒนะ
1 ต.ค. 2521 - 21 ก.ย. 2522
นายเชิด ดิฐานนท์
1 ต.ค. 2522 - 30 ก.ย. 2523
เรือตรี สุกรี รักษ์ศรีทอง
1 ต.ค. 2523 - 30 เม.ย. 2526
นายบุญช่วย หุตะชาต
1 พ.ค. 2526 - 30 ก.ย. 2529
นายมังกร กองสุวรรณ
1 ต.ค. 2529 - 30 ก.ย. 2531
นายกนก ยะสารวรรณ
1 ต.ค. 2531 - 30 ก.ย. 2533
พันตรี ประโยชน์ สุดจินดา
1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2535
นายวีระ รอดเรือง
1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2537
นายศิระ ชวนะวิรัช
1 ต.ค. 2537 - 30 ก.ย. 2538
นายสถิตย์ แสงศรี
1 ต.ค. 2538 - 30 เม.ย. 2540
นายสมบูรณ์ สุขสำราญ
1 พ.ค. 2540 - 11 ม.ค. 2541
นายศิระ ชวนะวิรัช
12 ม.ค. 2541 - 30 กย. 2544
นายสมาน กลิ่นเกษร
1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
นายอำนวย สงวนนาม
1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547
นายอานนท์ พรหมนารท
1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548
นายสนธิ เตชานันท์
1 ต.ค. 2548 - 12 พ.ย. 2549
นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์
13 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2552
นายประสิทธิ์ โอสถานนท์
1 ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2557
นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม
1 ต.ค. 2557 - 30 ก.ย. 2558
นายพินิจ บุญเลิศ
1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2560
พันตำรวจโท หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร
1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2564
นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์
1 ต.ค. 2564 - 2 ธ.ค. 2565
นายภาสกร บุญญลักษม์
2 ธ.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566
สถานที่ท่องเที่ยว
- เขาขนาบน้ำ
- ลานปูดำ
- เกาะกลาง
- ดินแดงดอย
- อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี
- หมู่เกาะพีพี
- อ่าวมาหยา
- อ่าวปิเละลากูน
- ถ้ำไวกิ้ง
- อ่าวลิง
- กองหินมูสัง
- เกาะยูง
- เกาะจำ
- เกาะปู
- เกาะศรีบอยา
- หาดยาว
- หาดไร่เลย์
- หาดคลองม่วง
- หาดทับแขก
- หาดนพรัตน์ธารา
- อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
- พิพิธภัณฑ์สถานวัดคลองท่อม
- น้ำตกร้อน
- สระมรกต
- น้ำพุร้อนเค็ม
- น้ำตกหินเพิง
- น้ำพุร้อนรักษะวาริน
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
- เกาะลันตาน้อย
- เกาะลันตาใหญ่
- เมืองเก่าเกาะลันตา
- เกาะรอกใน-เกาะรอกนอก
- เกาะห้า ตุกนลิมา
- หินแดง - หินม่วง
- เกาะไหง
- เกาะม้า
- หาดคอกวาง
- หาดบากันเตียง
- หาดพระแอะ
- ชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งหยีเพ็ง
- ถ้ำเขาไม้แก้ว
- เกาะตะละเบ็ง
- หาดคลองโขง
- หาดเจ้าอูฐ
- หาดทุ่งทะเล
- น้ำตกคลองจาก
- สะพานสิริลันตา
ที่มาข้อมูล