ญ (หญิง) เป็นอักษรไทย ตัวที่ 13 ในลำดับถัดจาก ฌ (เฌอ) และก่อนหน้า ฎ (ชฎา) มีชื่อเรียกกำกับว่า “ญอ หญิง” อักษร ญ มีเครื่องหมายอยู่ข้างใต้ เรียกว่า เชิง
ฎ (ชฎา) เป็นอักษรไทย ตัวที่ 14 ในลำดับถัดจาก ญ (หญิง) และก่อนหน้า ฏ (ปะ - ฏัก) ออกเสียงอย่าง ด (เด็ก) มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฎอ ชฎา”
ฏ (ปะ-ฏัก) เป็นอักษรไทยตัวที่ 15 ในลำดับถัดจาก ฎ (ชฎา) และก่อนหน้า ฐ (ฐาน) ออกเสียงอย่าง ต (เต่า) มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฏอ ปะ - ฏัก"(ปะ - ตัก)
ฐ (ฐาน หรือ สัณฐาน) เป็นอักษรไทยตัวที่ 16 ในลำดับถัดจาก ฏ (ปฏัก) และก่อนหน้า ฑ (มนโฑ) ออกเสียงอย่าง ถ (ถุง) มีชื่อเรียกกำกับว่า ฐ ฐาน
ฑ (มณโฑ) เป็นอักษรไทย ตัวที่ 17 ในในลำดับถัดจาก ฐ (ฐาน) และก่อนหน้า ฒ (ผู้เฒ่า) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฑ มณโฑ” (บางคนก็เรียกว่า ฑ นางมณโฑ)
ฒ (ผู้เฒ่า) เป็นอักษรไทย ตัวที่ 18 ในลำดับถัดจาก ฑ (มณโฑ) และก่อนหน้า ณ (เณร) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฒ ผู้เฒ่า”
ณ (เณร) เป็นอักษรไทย ตัวที่ 19 ในลำดับถัดจาก ฒ (ผู้เฒ่า) และก่อนหน้า ด (เด็ก) ออกเสียงอย่าง น (หนู) จัด มีชื่อเรียกกำกับว่า “ณ เณร”
ที่มาข้อมูล
1.ราชบัณฑิตยสถาน. (2550, 28 เมษายน). ฌ เฌอ. [ออนไลน์] ในวิกิพีเดีย2.จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ (มิถุนายน 2555 - ตุลาคม 2555). "อักษรไทยย่อในสมุดไทยเรื่องนันโทปนันทสูตรคําหลวงฯ". วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.