สัญญลักษณ์ประจำจังหวัด
คำขวัญประจำจังหวัด
- สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์
ตราประจำจังหวัด
- รูปพระสมุทรเทวาประทับนั่งบนแท่นหิน เบื้องหลังเป็นพระอาทิตย์อัสดง
ต้นไม้ประจำจังหวัด
- ต้นหมากพลูตั๊กแตน
ดอกไม้ประจำจังหวัด
- ดอกกาหลง
สัตว์น้ำประจำจังหวัด
- ปลาการ์ตูส้มขาว
ประวัติ
สตูล ปรากฏในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา แต่ข้อความที่ปรากฏบางตอนเกี่ยวกับชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูล ไม่ตรงกับในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติเกี่ยวกับเมืองสตูลในการจัดรูปแบบการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลกล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิต) เป็นข้าราชการเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรี โดยเมืองสตูลได้แยกออกจากไทรบุรีอย่างเด็ดขาดตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ
เรื่องการปักปันดินแดนนะหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2452) จากหนังสือสัญญานี้ยังส่งผลให้เมืองไทรบุรีและเมืองปะลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนเมืองสตูลยังคงเป็นของไทยมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อปักปันดินแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ตเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2453)
ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้
ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิปดา ถึง 7 องศา 2 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิปดา ถึง 100 องศา 3 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 973 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 2,478.997 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,549,361 ไร่
พื้นที่ติดต่อกับจังหวัดตรังทางทิศเหนือ จังหวัดสงขลาทางทิศตะวันออก และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซียตลอดแนวชายแดน (ทางทิศใต้) ยาวประมาณ 56 กิโลเมตร ติดต่อฝั่งอันดามันยาวประมาณ 144.8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกาะประมาณ 88 เกาะ
ภูมิประเทศ
พื้นที่จังหวัดสตูลทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นเนินเขาและภูเขาสลับซับซ้อน โดยมีทิวเขาที่สำคัญแบ่งเขตประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย คือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาสันกาลาคีรี พื้นที่ของจังหวัดค่อย ๆ ลาดเอียงลงสู่ทะเลด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ โดยยังมีภูเขาน้อยใหญ่อยู่กระจัดกระจายในตอนล่าง
ภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาจีน เขาบารัง เขาใหญ่ เขาทะนาน และเขาพญาวัง และมีที่ราบแคบ ๆ ขนานไปกับชายฝั่งทะเล ถัดจากที่ราบลงไปเป็นพื้นที่ป่าชายเลนน้ำเค็มขึ้นถึง อุดมไปด้วยป่าแสมและป่าโกงกาง สตูลเป็นจังหวัดที่ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน คงมีเพียงลำน้ำสั้น ๆ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัด
ภูมิอากาศ
พื้นที่จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.6-39.5 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.9-38.8 องศาเซลเซียส
ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
นายอุดม บุณยประสพ
1 ม.ค. 2487 - 17 ก.ย. 2487
นายแสวง ทินทอง
5 ต.ค. 2487 - 17 ต.ค. 2489
นายวิเวก จันทโรจวงศ์
19 ต.ค. 2489 - 14 มี.ค. 2490
นายทำนุก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
14 มี.ค. 2490 - 6 ธ.ค 2490
นายชาติ บุณยรัตพันธ์
22 ธ.ค. 2490 - 3 เม.ย. 2494
ขุนอารีราชการัณย์ (ชิต สุมนดิษฐ์)
3 เม.ย. 2494 - 7 ส.ค. 2500
นายวิชาญ บรรณโศภิษฐ์
1 ส.ค. 2500 - 1 ต.ค.. 2501
นายวิเวก จันทโรจวงศ์
1 ต.ค. 2501 - 27 ต.ค. 2506
นายเคลื่อน จิตรสำเริง
28 ต.ค. 2506 - 12 ก.พ. 2507
นายธวัชชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
21 ก.พ. 2507 - 1 ก.พ. 2509
นายชาญ พันธ์เจริญ
2 มี.ค. 2509 - 30 ก.ย. 2514
นายเปรมศักดิ์ วิเชียรภักดิ์
1 ต.ค. 2514 - 30 ก.ย. 2515
นายศุภโยค พานิชวิทย์
1 ต.ค. 2515 - 12 ก.พ. 2518
นายอรุณ รุจิกัณหะ
24 ก.พ. 2518 - 1 ต.ค. 2519
นายอารีย์ วงศ์อารยะ
2 ต.ค. 2519 - 27 ก.ย. 2522
นายอเนก โรจนไพบูลย์
1 ต.ค. 2522 - 26 เม.ย. 2524
ร้อยตรี นิสิต อัลภาชน์
27 เม.ย. 2524 - 1 ต.ค. 2524
นายวิโรจน์ ราชรักษ์
11 ต.ค. 2524 - 30 ก.ย. 2526
นายจำเนียร ชวพงศ์
1 ต.ค. 2526 -30 ก.ย. 2528
นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาค
1 ต.ค. 2528 - 30 ก.ย. 2531
นายสงัด จันทร์แช่มช้อย
1 ต.ค. 2531 - 30 ก.ย. 2532
นายวิเชียร สุวัตถี
1 ต.ค. 2532 - 31 ต.ค. 2533
ร้อยเอก เคียงศักดิ์ ธรรมราชรักษ์
1 พ.ย. 2533 - 30 ก.ย. 2534
ร้อยตรี หิรัญ ศิษฏิโกวิท
1 ต.ค. 2534 - 30 ก.ย. 2537
นายอนุชา โมกขะเวส
1 ต.ค. 2537 - 30 ก.ย. 2539
นายชาติสง่า โมฬีชาติ
1 ต.ค. 2539 - 30 ก.ย. 2540
นายสรศักดิ์ สร้อยสนธิ์
1 ต.ค. 2540 - 30 ก.ย. 2543
นายกฤช อาทิตย์แก้ว
1 ต.ค. 2543 - 30 ก.ย. 2544
นายวิจิตร วิชัยสาร
1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
นายอานนท์ พรหมนารท
1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547
นายมานิต วัฒนเสน
1 ต.ค. 2547 - 10 พ.ย. 2549
นายขวัญชัย วงศ์นิติกร
11 พ.ย. 2549 - 19 ต.ค. 2551
นายสยุมพร ลิ่มไทย
20 ต.ค. 2551 - 15 มี.ค. 2552
นายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล
16 มี.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2553
นายวินัย ครุวรรณพัฒน์
1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2554
นายพิศาล ทองเลิศ
1 ต.ค. 2554 - 30 ก.ย. 2555
นายเหนือชาย จิระอภิรักษ์
19 พ.ย. 2555 - 30 ก.ย. 2557
นายเดชรัฐ สิมศิริ
1 ต.ค. 2557 - 30 ก.ย. 2558
นายภัทรพนธ์ รัตนพิเชฏฐชัย
1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2561
นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา
1 ต.ค. 2561 - 30 ก.ย. 2562
นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์
1 ต.ค. 2562 - 30 ก.ย. 2563
นายเอกรัฐ หลีเส็น
1 ต.ค. 2563 - 30 ก.ย. 2565
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา
1 ต.ค. 2565 - 9 เม.ย. 2566
นายศักระ กปิลกาญจน์
1 ต.ค. 2566 - ปัจจุบัน
การปกครอง
แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 36 ตำบล 257 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองสตูล
- อำเภอควนโดน
- อำเภอควนกาหลง
- อำเภอท่าแพ
- อำเภอละงู
- อำเภอทุ่งหว้า
- อำเภอมะนัง
การปกครองส่วนท้องถิ่น
- เทศบาลเมืองสตูล
ที่มาข้อมูล
2.กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 15 ธันวาคม 2566